top of page
Piano Close-up

MUSIC
KNOWLEDGE

MUSIC KNOWLEDGE: Welcome

Beethoven Symphony No.9

          ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ (Symphony No. 9 in D minor) ของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน รู้จักกันในชื่อ คอรัล ซิมโฟนี (Choral Symphony) เป็นผลงานซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายที่เบโทเฟินแต่งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เริ่มแต่งเมื่อราว ค.ศ. 1818 แล้วเสร็จออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 ที่เวียนนา ในแคตตาล็อกผลงานของเบโทเฟินระบุหมายเลขโอปุส 125 (Opus 125) ถูกใช้เป็นเพลงประจำองค์กรของสหภาพยุโรป มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 และสภายุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 

          Ode to Joy  คือเพลงพิมพ์ใจมนุษยชาติแสนโด่งดัง ตัดตอนมาจาก ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟน ซึ่งเบโธเฟนกล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์ซิมโฟนีนี้จากบทกวี  An die Freude  (Ode to Joy) ของ ฟรีดดริช ฟอน ชิลเลอร์ (1759-1805) นักประวัติศาสตร์ นักปรัชญา นักเขียนบทละคร และกวีเอกชาวเยอรมัน

          ความพิเศษของ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในช่วงก่อกำเนิดขึ้นมีหลายประการ ทั้งสถานะการเป็นผลงานการประพันธ์ซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายของเบโธเฟน การสร้างความตรึงตราใจในศักยภาพความเป็นมนุษย์อันลึกซึ้งเพราะขณะออกแสดงครั้งแรกที่กรุงเวียนนาในปี 1824  เบโธเฟนได้สูญเสียโสตประสาททางการได้ยินไปแล้ว และอีกหนึ่งความพิเศษคือในกระบวนที่ 4 ซึ่งเป็นกระบวนสุดท้ายของซิมโฟนี เบโธเฟนได้นำ  An die Freude มาให้นักร้องขับร้องโดยให้เสียงร้องมีความสำคัญเท่าเครื่องดนตรีในวง หลังออกแสดงครั้งแรก เพลงนี้ยิ่งทวีความหมายต่อทั้งโลก

อ้างอิง : https://www.the101.world/poetic-ep-3/

credit-Sรกndor-Benkล‘-1.png
MUSIC KNOWLEDGE: About
Brass

Beethoven Symphony No.5

ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น (เยอรมัน: Ludwig van Beethoven 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนีเบโธเฟ่นเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคคลาสสิคช่วงปลายจนถึงยุคโรแมนติก ผู้โดดเดี่ยวและไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่ มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่งOde to Joy คือเพลงพิมพ์ใจมนุษยชาติแสนโด่งดัง ตัดตอนมาจาก ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟน ซึ่งเบโธเฟนกล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์ซิมโฟนีนี้จากบทกวี An die Freude (Ode to Joy) ของ ฟรีดดริช ฟอน ชิลเลอร์ (1759-1805) นักประวัติศาสตร์ นักปรัชญา นักเขียนบทละคร และกวีเอกชาวเยอรมันความพิเศษของ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในช่วงก่อกำเนิดขึ้นมีหลายประการ ทั้งสถานะการเป็นผลงานการประพันธ์ซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายของเบโธเฟน การสร้างความตรึงตราใจในศักยภาพความเป็นมนุษย์อันลึกซึ้งเพราะขณะออกแสดงครั้งแรกที่กรุงเวียนนาในปี 1824 เบโธเฟนได้สูญเสียโสตประสาททางการได้ยินไปแล้ว และอีกหนึ่งความพิเศษคือในกระบวนที่ 4 ซึ่งเป็นกระบวนสุดท้ายของซิมโฟนี เบโธเฟนได้นำ An die Freude มาให้นักร้องขับร้องโดยให้เสียงร้องมีความสำคัญเท่าเครื่องดนตรีในวง หลังออกแสดงครั้งแรก เพลงนี้ยิ่งทวีความหมายต่อทั้งโลกจนกล่าวแทบไม่หวาดไม่ไหวซิมโฟนีบทนี้ เบโธเฟ่นใช้บรรยายความรู้สึกของการต่อสู้กันระหว่างโชคชะตา เคราะห์กรรมของมนุษย์กับจิตวิญญาณของมนุษย์ แนวทำนองของแม้ว่าเบโธเฟนยืนยันว่าประทับใจบทกวี An die Freude ของชิลเลอร์อย่างลึกซึ้งมาตั้งแต่วัยหนุ่ม แต่ในโลกดนตรียังมีการถกเถียงกันว่าบทกวี An die Freude เป็นทั้งรากฐานของ ซิมโฟนีหมายเลข 9 หรือจริงๆ แค่บังเอิญมาสอดรับกับซิมโฟนี 3 กระบวน (movement) ก่อนหน้าที่เบโธเฟนแต่งไว้แล้ว จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นบทสรุปของซิมโฟนีทั้งหมดคอรัลซิมโฟนีเป็นผลงานที่ใช้เสียงร้องเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี โดยในมูฟเมนต์ที่ 4 ใช้เสียงนักร้องโซโล 4 คน ประกอบกับการร้องประสานเสียง คำร้องที่ใช้นำมาจากโคลงภาษาเยอรมัน Ode an die Freude ("Ode to Joy") ของฟรีดริช ชิลเลอร์ซิมโฟนีบทนี้แบ่งออกเป็น 4 ท่อน ได้แก่I. Allegro ma non troppo, un poco maestosoII. Scherzo: Molto vivace - PrestoIII. Adagio molto e cantabile - Andante Moderato - Tempo Primo - Andante Moderato - Adagio - Lo Stesso TempoIV. Presto; Allegro molto assai (Alla marcia); Andante maestoso; Allegro energico, sempre ben marcato

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/jigjdsooxdlklaz/sheet-music/pra-wati-kh/lud-wik-fan-be-thofen-ludwig-van-beethoven

MUSIC KNOWLEDGE: About
Orchestra

Don Juan

Op. 20

          ประพันธ์โดย ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss) ริชาร์ด สเตราส์เป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก พ่อเป็นนักดนตรี มีชื่อว่า Franz เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการเป่าฮอร์น สเตราส์เรียนรู้เรื่องดนตรีจากการสอนของพ่อเขาเอง  เขาสามารถแต่งเพลงได้เมื่ออายุเพียง 6 ขวบ  บทเพลงซิมโฟนีบทแรกของเขาได้ถูกนำมาแสดงเมื่ออายุ 17 ปี  เมื่ออายุ 21 ปีเขาได้รับทำหน้าที่ผู้กำกับวงดนตรี(conductor)ให้กับวง Meiningen Orchestra และในภายหลังเขาได้กลายมาเป็นผู้ควบคุมวงรุ่นเยาว์ที่ Munich Opera

          สเตราส์ สนใจที่จะสร้างผลงานเพลงแบบแปลกใหม่มาสู่ผู้ฟัง  ลักษณะของบทเพลงที่เรียกว่า "Tone Poem" หรือ "Symphonic Poem" ซึ่งเป็นการนำเสียงดนตรีมาใช้พรรณาเรื่องราวต่างๆได้ถูกนำมาใช้ในบทเพลงของเขา  ผลงานที่จัดว่าเป็น Tone Poem ได้แก่บทเพลงในเรื่อง  Don Juan และ Till Eulenspiegels lustige Streiche (Till Eulenspiegels Merry Pranks)  เขาประสบผลสำเร็จกับแนวดนตรีแบบ Tone Poem และได้กลายเป็นผู้นำการเขียนเพลงแนวนี้ในเยอรมันนี  สเตราส์เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขบขัน เขามักจะแทรกอารมณ์ขันของเขาด้วยเสียงดนตรีในบทเพลงของเขาเสมอ

          ดอน ฮวนเป็นบทเพลงที่ถูกเขียนขึ้นบนเรื่องราวของทหารนายหนึ่ง โดยนักประพันธ์ชาวเยอรมันนามว่าริชาร์ด สเตราส์ ในปีคศ.1888 มันถูกดัดแปลงจากศตวรรษที่ 1844 กวีนิโคลัส ที่สร้างขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสเปน

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/mrjisclassroom/prawati-sangkhit-kwi-laea-phl-ngan/richard-strauss?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1

MUSIC KNOWLEDGE: About
violin.png

Brahms's Violin Concerto

Concerto in D major for Violin and Orchestra Op 77 มีความยาวรวม 3 ท่อน

ท่อนแรก Allegro non troppo

ท่อนสอง Adagio

ท่อนสาม Allegro giocoso, ma non troppo vivace-Poco più presto

บรามส์ประพันธ์บทเพลงไวโอลินบทนี้ในช่วงฤดูร้อนต่อเนื่องถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงปี 1878 จากคำบอกเล่าของฮันส์ฟอนบีโลว์นักเปียโนวาทยกรชาวเยอรมันซึ่งเป็นผู้อำนวยเพลงนำออกแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนาเดิมบรามประพันธ์เพลงบทนี้เพื่อไวโอลินมิได้ประพันธ์เพื่อนักไวโอลินพูดง่ายๆจะเอาชนะไวโอลิน แต่ในที่สุดไวโอลินเป็นฝ่ายชนะเพราะหลังประพันธ์ท่อนแรกเสร็จส่งให้เพื่อนสนิทโยเซฟโยอาคิมถือเป็นนักไวโอลินเอกชาวฮังการีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตรวจทานแก้ไ v โยอาคิมแก้จนบรามส์รู้สึกนุ่นเคืองแทบจะตัดขาดความเป็นเพื่อนกันอย่างไรก็ตามหลังสงบสติอารมณ์ได้คิดในแง่บวกกัมหน้าก้มตาประพันธ์นแล้วเสร็จสมบูรณ์นำออกแสดงเป็นปฐมทัศน์ในเมืองไลน์ซิกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1879 โดยโยอาคิมเป็นผู้เดี่ยวไวโอลินกับเกวันด์เฮาส์ออร์เคสตราโดยบรามส์เป็นผู้อำนวยเพลงเองและบรามส์ได้อุทิศบทเพลงแก่โยอาคิมเพื่อนที่ให้ข้อคิดดีๆทางดนตรีแก่บรามส์เสมอ Violin Concerto in D major, Op.77 จัดเป็นหนึ่งในสี่บทเพลงไวโอลินคอนแชร์โตที่สำคัญของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันอัน ได้แก่ Violin Concerto in D major, Op.61 VəJ IUISIWu, Violin Concerto in E minor, Op.64 VOJ IUuaalou, Violin Concerto in G minor VOJ บรคทั้งสี่บทเพลงไวโอลินคอนแชร์โตของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันล้วนได้รับความนิยมทั้งจากนักไวโอลินและแฟนเพลงคลาสสิกแนวการประพันธ์บรามส์ยังยึดถือโครงสร้างรูปแบบของดนตรีแบบคลาสสิกเป็นหลักโดยเฉพาะรูปแบบ v องโมสาร์ทและเบโธเฟนท่อนแรกค่อนข้างเร็ว แต่หนักแน่นเร้าใจไวโอลินจะสีในโพสิชั่นสูงเป็นส่วนใหญ่เฉพาะอย่างยิ่งตอนท้ายท่อนวงหยุดบรรเลงเปิดโอกาสให้ไวโอลินแสดงฝีมือในช่วงที่เป็นจุดพักแสดงเม็ดพราย (cadenza) เปิดช่องให้นักไวโอลินได้ปล่อยของสุดความสามารถการเดี่ยวดนตรีเชิงปฏิภาณทำได้อย่างอิสระมีกลเม็ดเด็ดพรายอะไรแสดงออกมาให้หมดช่วงที่เป็น cadenza นักไวโอลินบางคนผ่านไปเลยบางคนแสดงนิดหน่อย แต่นักไวโอลินยอดฝีมือเป็นโอกาสดีที่จะอวดความเก่งกาจทั้งด้านเทคนิคปฏิภาณในการสร้างความสะใจให้ผู้ชมผู้ฟังหลังจบ cadenza วงบรรเลงต่อนิดหน่อยแล้วค่อยผ่อนคลายเปลี่ยนอามรมณ์ด้วยไวโอลินส์ในแนวทำนองที่นุ่มนวลอ่อนหวานสละสลวยไพเราะจับใจในท่อนที่สองท่อนสุดท้ายใช้จังหวะและลีลาแบบยิปซีซึ่งโยอาคิมที่มีพื้นเพเป็นชาวฮังการีและเป็นผู้แนะแนวดนตรีให้แก่บรามส์เพราะเป็นผู้มีความรู้เข้าถึงแก่นทองดนตรีแบบยิปซีร้อนแรงเร้าใจอย่างที่ดนตรีชนชาติอื่นในยุโรปไม่มี

ในท่อนที่สองนั้น มีความพิเศษมาก บทเพลงนี้เป็นเพลงเดี่ยวสำหรับไวโอลินก็จริง แต่ในท่อนนี้ โอโบจะเป็นผู้นำพาทำนองของท่อนที่สองออกมาในช่วงต้น ว่ากันว่าบรามส์เขียนในช่วงนี้เปรียบดังชีวิตรักของตนที่ไม่สมหวัง

อ้างอิง : http://inews.bangkokbiznews.com

MUSIC KNOWLEDGE: About
1234.jpg

Le tombeau de Couperin

 

บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นโดยมอริส ราเวล ในระหว่างปีคศ.1919 สำหรับเปียโน มีด้วยกัน 6 ท่อน เพื่อเป็นการระลึกถึงเพื่อของเขาทั้ง 6 คนที่เสียชีวิคในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยได้รับแรงบรรดาลใจจากนักประพันธ์นามว่า François Couperin นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสในยุคบาโรก ในปีคศ.1920 เขาได้ทำการเรียบเรียงอีกครั้ง สำหรับวงออเคสตร้าเพื่อประกอบการเต้นบัลเล่ต์

ประกอบไปด้วย

  1.      Prélude เป็นท่อนนำที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและกระฉับกระเฉง อยู่บนการเล่นโน้ตตัวเขบ็ตสองชั้นจัดกลุ่มเป็นสามพยางค์ ทำให้เครื่องดนตรีที่เล่นทำนองนี้สอดรับกันมีความโดดเด่นมาก ได้แก่โอโบและเครื่องลมไม้อื่นๆ

  2. Forlane (forlana) อุทิศให้กับความทรงจำของ Gabriel DeLuc ถูกเขียนขึ้นในอัตราจังหวะ 6/8 โดยรวมนั้นยังรักษาอารมณ์ร่าเริงสดใส และอีกครั้งที่สร้างความโดดเด่นให้กับเครื่องลม

  3. Menuet อุทิศให้กับความทรงจำของ Jean Dreyfus ลูกเลี้ยงของเพื่อน Ravel คนหนึ่ง ในส่วนนี้ยังคงรูปแบบของ Menuetจากยุคบาโรก แต่ถูกเขียนให้เห็นสีของความเศร้าโศก

  4. Rigaudon มีชีวิตชีวา มีความมุ่งมั่น อุทิศให้แก่สองพี่น้อง Pierre และ Pascal Gaudin ผู้ที่เสียชีวิตในวันแรกของการบริการของพวกเขา มันโดดเด่นด้วยจังหวะที่มีการก้าวกระโดดและกลายเป็นที่นิยมมากในฝรั่งเศส ชื่อ Rigaudon ถูกนำมาประกอบกับนักประดิษฐ์ Rigaud นักเต้นชาวฝรั่งเศสจาก Marseille


อ้างอิง : https://www.indianapolissymphony.org

MUSIC KNOWLEDGE: Bio
MUSIC KNOWLEDGE: Welcome
Eroica_Beethoven_title.jpg

Beethoven Symphony No.3

Sinfonia Eroica

ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ (Symphony No. 3 in E flat major) ของ Ludwig Van Beethoven รู้จักกันในชื่อ อีรอยกา ซิมโฟนี(Eroica Symphony) Eroica มาจากภาษาอิตาลี หมายถึง วีรบุรุษ เป็นผลงานซิมโฟนีของเบโทเฟินที่บางครั้งถูกอ้างถึงว่าเป็นจุดสิ้นสุดของดนตรียุคคลาสสิก และเป็นจุดเริ่มต้นของดนตรียุคโรแมนติก

เบโทเฟินเริ่มแต่งซิมโฟนีบทนี้ด้วยความเลื่อมใสในตัวนโปเลียน โบนาปาร์ต (1769-1821) ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เดิมเมื่อเริ่มแต่ง เขาอุทิศผลงานชิ้นนี้ให้กับนโปเลียน พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า Bonaparte เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1803 แล้วเสร็จเมื่อต้นปี ค.ศ. 1804 

ต่อมาเมื่อนโปเลียนสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระนามว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1804 เบโทเฟินผิดหวังในความมักใหญ่ใฝ่สูงของนโปเลียน ถึงกับใช้มีดกรีดกระดาษโน้ตเพลงต้นฉบับเพื่อขูดชื่อโบนาปาร์ตออก จนทำให้ต้นฉบับเป็นรอยฉีกขาด เบโทเฟินได้เปลี่ยนชื่อซิมโฟนีบทนี้เป็น Sinfonia eroica, composta per festeggiare il sovvenire d'un grand'uomo ("heroic symphony, composed to celebrate the memory of a great man") หรือเรียกสั้นๆ ว่า Sinfonia eroica

ซิมโฟนีบทนี้แบ่งออกเป็น 4 ท่อน ได้แก่

  • I. Allegro con brio

  • II. Marcia funebre: Adagio assai in C minor

  • III. Scherzo: Allegro vivace

  • IV. Finale: Allegro molto

MUSIC KNOWLEDGE: Welcome

La Scala di Seta

Gioacchino Rossini

ศิลปินคนนี้เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1782 ณ เมืองเพซาโร ประเทศอิตาลี เป็นคนสัญชาติอิตาลีโดยกำเนิด เค้าเกิดในช่วงเวลาของยุคโรแมนติค ช่วงเวลาในวัยเด็กของเค้าถือว่าเป็นช่วงเวลาของการเรียนดนตรีอย่างแท้จริงเค้าเกิดมาในครอบครัวนักดนตรี พ่อเป็นนักดนตรี แม่เป็นนักร้อง ทำให้เค้าได้รับการอบรม สั่งสอน ปลูกฝังความรักดนตรีมาตั้งแต่เด็กเลยทีเดียว ส่วนชีวิตส่วนตัวในวัยผู้ใหญ่เค้าแต่งงานสองครั้งเป็นนักแสดงอุปรากรทั้งคู่
หลังจากเรียนดนตรีจากครอบครัวแล้ว (เล่นเชลโล, เป่าฮอร์น, ร้องเพลง) เมื่ออายุได้ 15 ปี เค้าได้ออกเดินทางศึกษาเส้นทางดนตรีมากขึ้นเริ่มต้นที่โรงเรียนในเมืองโบโลญญา เรียนเรื่องเกี่ยวกับการแต่งเพลง ประพันธ์เพลง ในโรงเรียนแห่งนั้นเค้าได้ค้นพบตัวเองว่ามีความสามารถทางด้านการแต่งเพลง เค้าแต่งเพลงได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี เป็นเพลงเกี่ยวกับอุปรากรชื่อว่า The barber of Seville เปิดการแสดงที่กรุงโรม อิตาลี ได้รับความนิยมอย่างมาก เค้าจึงเลือกเส้นทางสายนี้มีผลงานมากมาย อีกเรื่องที่สร้างชื่อเสียงให้กับเค้าก็คือ William Tell เรื่องนี้ก็ดังมากเช่นกัน
โอเปร่า La Scala de Seta (Silken Ladder) เป็นอุปรากรเรื่องแรกที่ประสบความสําเร็จในเชิงพาณิชย์ แต่งขึ้นเพียงสองปีหลังจากสิ้นสุดการศึกษาของเขา มันเป็นโอเปร่าเรื่องที่หกของเขา ในองก์ที่สร้างความขบขันแก่ผู้ชมสร้างขึ้นโดยกวี Giuseppe Foppa ซึ่งถูกดัดแปลงจากละครฝรั่งเศส นักร้อง(เทเนอร์) Dorvil ใช้บันไดผ้าไหมเพื่อที่จะได้พบกับภรรยาของเขา Giulia (โซปราโน่) Dorvil แต่งงานอย่างลับๆกับ Giulia ที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ปรึกษาของเธอ การแสดงครั้งแรกที่จัดขึ้นในเวนิสในวันที่ 9 ในปีคศ.1812 และการแสดงที่สองในกรุงโรม ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นความท้าทายของนักดนตรีโดยเฉพาะเครื่องสายและกลุ่มเครื่องลมไม้

lasca.jpg
bottom of page